
รู้จัก..โรคหัวใจล้มเหลว เลี่ยงรับประทานอาหารอย่างไร
ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะการทำงานผิดปกติของหัวใจ ที่ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ
สุขภาพ แม้ร่างกายจะอยู่ในสภาวะพักผ่อนกรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก เตือนผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีโซเดียมน้อย เค็มน้อย เพราะหากทานอาหารที่มีโซเดียมมาก เค็มมาก อาจส่งผลให้เกิดภาวะน้ำคั่ง น้ำท่วมปอด ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ทำให้อาการที่เป็นอยู่มีความรุนแรงมากขึ้นและมีโอกาสเสียชีวิตได้ ควบคุมปริมาณโซเดียมในอาหารที่รับประทานในแต่ละวันโซเดียม คือแร่ธาตุซึ่งมีหน้าที่หลักในการรักษาสมดุลของน้ำและอิเลคโตรไลท์ (Electrolyte) ในร่างกาย และควบคุมระดับความดันโลหิต โดยร่างกายของเราสามารถขับน้ำและแร่ธาตุ รวมถึงโซเดียมได้ 3 ทาง ได้แก่ ปัสสาวะ เหงื่อ อุจจาระ โดยปริมาณโซเดียมสูงสุดที่ร่างกายควรได้รับและไม่ทำให้เกิดอันตราย อยู่ที่ 2,400 มิลลิกรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา ในหนึ่งวัน
โซเดียมอยู่ในอาหารประเภทไหนบ้างโซเดียม มักอยู่ในเกลือและสารให้ความเค็มต่าง ๆ เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว กะปิ นอกจากนี้โซเดียมอาจจะอยู่ในอาหารที่ไม่มีรสชาติเค็มอีกด้วย เช่น เบเกอรี่เเละขนมอบ ที่มีส่วนประกอบ อาทิเช่น ผงฟู เป็นสารที่ทำให้ขนมปังขึ้นฟู โซเดียมอัลจิเนต ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อเจลให้ความข้นหนืด ผงกันบูด เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา เป็นต้น อันตรายจากการรับประทานอาหารรสเค็มจัดต่อเนื่องการรับประทานอาหารรสเค็มมากไป ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจทำงานหนักขึ้น และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหลอดเลือดในสมองแตกหรืออัมพาตได้ ดังนั้น การจำกัดหรือควบคุมปริมาณโซเดียม สามารถช่วยควบคุมและป้องกันความดันโลหิตสูง รวมทั้งป้องกันการเกิด ภาวะหัวใจล้มเหลว ลดภาวะบวมน้ำ ในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคไตได้